ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบกของประเทศ (พื้นที่ทางบกประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร) โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจึงได้กำหนดเขตน่านน้ำทางทะเลออกเป็น 6 เขต

เขตที่ 1 น่านน้ำภายใน 

คือ น่านน้ำทางด้านแผ่นดินของเส้นฐาน (baselines) แห่งทะเลอาณาเขต (อนุสัญญาฯ ข้อ 8 วรรคหนึ่ง) เช่น อ่าว แม่น้ำ ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือน่านน้ำภายใน (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ข้อ 2) ในทำนองเดียวกับที่รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (territory)

          ดังนั้น หากเรือต่างชาติหรืออากาศยานต่างชาติจะผ่านเข้ามาในเขต น่านน้ำภายในของรัฐชายฝั่ง เรือต่างชาติหรืออากาศยานต่างชาตินั้น จะต้องขออนุญาตรัฐชายฝั่งก่อน ได้แก่ พื้นที่ที่แสดงด้วยสีเขียวทั้งหมด ซึ่งอยู่ด้านในถัดจากเส้นฐานไปถึงฝั่ง มีอยู่ 5 บริเวณ ได้แก่

  1. อ่าวประวัติศาสตร์ ได้แก่ พื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก. เหนือเส้นฐานที่กำหนดขอบเขตอ่าวประวัติศาสตร์

  2. บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่บริเวณแหลมลิง ถึงหลักเขตแดนไทย-เขมร

  3. บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่บริเวณตั้งแต่แหลมใหญ่ ถึงแหลมหน้าถ้ำ

  4. บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่บริเวณตั้งแต่ เกาะภูเก็ต ถึง พรมแดนไทย-มาเลเซีย เชื่อมเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายใน ของประเทศไทย

  5. บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่บริเวณตั้งแต่เกาะกงออก (ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งอยู่ทางตอนใต้เกาะสมุย และเป็นจุดฐานจุดหนึ่งของระบอบเส้นฐานตรงบริเวณที่ 2) ผ่านเกาะกระ เกาะโลซิน และเข้าบรรจบฝั่งที่จะเขตแดนไทย-มาเลเซีย ณ ปากแม่น้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส

รูปอาณาเขตทางทะเลของไทย พื้นที่สีเขียวคือพื้นที่น่านน้ำภายในของประเทศไทย

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/wp-content/uploads/2013/07/marinetime-zone.jpg

เอกสารอ้างอิง

 

 

บทความล่าสุด

7 ธันวาคม 2023

กั้งตั๊กแตน

22 พฤศจิกายน 2023

ปลากระทิงไฟ