ข้อมูลนักท่องเที่ยว
สินค้าที่ระลึก
ทัวร์เสมือนจริง
บทความน่ารู้
ข่าวสาร
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
ปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Stoem surge)
หน้าแรก
›
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
›
ปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Stoem surge)
เป็นปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นจากภูมิอากาศ ได้แก่ ความกดอากาศและลมพายุ
จากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ที่มีความเร็วลมตั้งแต่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งจากระดับน้ำที่สูงขึ้น เช่น พายุปาบึก
สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์
คลื่นพายุซัดฝั่ง (
Stoem surge
)
เกิดจากความกดอากาศหรือความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure) เมื่อบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นมีความกดอากาศต่ำจะส่งผลต่อระดับน้ำทะเลเนื่องจากบริเวณขอบพายุจะมีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณตาพายุและก่อให้เกิดแรงที่ผลักมวลน้ำด้านนอกภายุให้สูงขึ้นตามไปด้วยโดยทุกๆๆการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศที่ 10 มิลลิบาร์สามารถเพิ่มระดับความสูงน้ำได้ 10 มิลลิเมตร หรือปัจจัยอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์ wind set-up ที่เกิดจากความเร็วลมที่พัดผ่านมหาสมุทรเข้าสู่ชายฝั่งซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูงชันของพายุซัดฝั่งเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นตามกระแสอากาศที่ไหลลง และปริมาณน้ำฝนที่ตกเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อน
ระดับน้ำทะเลขณะเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง
ภาพ : Loughborough University
โดยคลื่นพายุซัดฝั่งในไทยอาจเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย หรือเกิดบริเวณอ่าวไทยตอนล่างโดยตรง เริ่มในช่วงเดือนตุลาคม – กลางเดือนธันวาคม (ช่วง Low season)
ในบริเวณพื้นที่จังหวัด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และชายฝั่งภาคตะวันออก
ผลกระทบของปรากฎการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (
Stoem surge
)
คลื่นพายุซัดฝั่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อบ้านเรือนและพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ต่อทั้งอาคารบ้านเรือและทรัพย์สิน เช่น ถนน สิ่งก่อสร้าง ท่าเรือ เป็นต้น และความเสียหายจากลมพายุและระดับน้ำที่เข้าท่วมพื้นที่
ในทางนิเวศวิทยาทำให้ป่าชายเลนและหาดทรายถูกทำลาย รวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และแหล่งทำประมง กระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวตั่งต่าง
แหล่งข้อมูล
กองบริการดิจิทัลอุตุนิยมวิทยา. (ม.ป.ป.). คลื่นพายุซัดฝั่ง. สืบค้นจาก
https://tmd-dev.azurewebsites.net/info/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0 0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%87
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย. (2565). คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surge) สืบค้นจาก
https://ngthai.com/science/40782/storm-surge/
Beachlover. (2567). พายุซัดฝั่ง (Storm surge) คืออะไร?. สืบค้นจาก
https://beachlover.net/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-storm-surge-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
บทความล่าสุด
3 ธันวาคม 2024
ตอนที่ 2 ประเภทของปลาสวยงาม
2 ธันวาคม 2024
ตอนที่ 1 ประวัติและความสำคัญของปลาสวยงาม
24 มิถุนายน 2024
ภาวะขาดวิตามินซี (Hypovitaminosis C)