ข้อมูลนักท่องเที่ยว
สินค้าที่ระลึก
ทัวร์เสมือนจริง
บทความน่ารู้
ข่าวสาร
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
ปลาปอดแอฟริกา (African lungfish)
หน้าแรก
›
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
›
ปลาปอดแอฟริกา (African lungfish)
รู้จักกับ ‘ปลาปอดแอฟริกา’ ที่สามารถอยู่รอดได้เป็นเดือนๆ แม้ไม่มีน้ำสักหยด!? อย่างที่รู้กันดีว่า ‘ปลา’ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ และเมื่อไหร่ก็ตามมันไปอยู่ในที่ที่ไม่มีน้ำ นั่นอาจเป็นจุดจบของพวกมัน แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่ามีปลาบางชนิดที่สามารถมีชีวิตรอดได้ แม้น้ำจะแห้งแบบแห้งสนิทแล้วก็ตาม แถมยังอยู่ได้นานเป็นเดือนๆ ด้วยนะเออ!!
ต่อไปนี้ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ ปลาปอดแอฟริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ African Lungfish เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง และเป็นปลาจำพวกเดียวที่ในปัจจุบันที่สามารถหายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วๆ ไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น
ปลาปอดนั้นเป็นสัตวที่สืบสายพันธุ์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงปัจจุบัน และเพราะเหตุนี้เองจึงสามารถยืนยันได้ว่าปลาวิวัฒนาการมาจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
วงศ์ปลาปอดแอฟริกา (วงศ์: Protopteridae; อังกฤษ: African lungfish) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลาที่มีครีบเป็นพู่ (Sarcopterygii) ในชั้นย่อยปลาปอด (Dipnoi) ในอันดับ Lepidosireniformes หรือปลาปอดยุคใหม่ (ร่วมอันดับเดียวกับปลาปอดอเมริกาใต้)
ลักษณะ
ปลาปอดจะมีลักษณะเป็นปลาโบราณ มีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ลักษณะกระดูกส่วนแขนขาคล้ายกับสัตว์ชั้นสูง กล่าวคือครีบทั้งสี่ของมันนั้นทำหน้าที่เป็นแขนและขามาก่อนที่จะวิวัฒนาการกลายเป็นครีบในภายหลังนั่นเอง ที่พิเศษก็คือเจ้าปลาปอดนี้จะมีอวัยวะที่ชื่อว่า “กระเพาะลม” ที่หนามากตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหน้าอกของมัน และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะอาหารทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจน ที่พิเศษก็คือเจ้าปลาปอดนี้จะมีอวัยวะที่ชื่อว่า “กระเพาะลม” ที่หนามากตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหน้าอกของมัน และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะอาหารทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจน ซึ่งปลาทั่วไปนั้นจะใช้กระเพาะลมในการพยุงตัวในขณะที่ว่ายน้ำเท่านั้น ไม่ได้มีไว้หายใจเหมือนกับปลาปอดแต่อย่างใด อีกความแตกต่างหนึ่งที่ทำให้มันไม่เหมือนกับปลาธรรมดาทั่วไปก็คือ มีท่อที่เชื่อมต่อระหว่างกระเพาะลมกับช่องปาก นั่นหมายความว่ามันมี “จมูก” ที่ใช้หายใจนั้นเอง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมันถึงสามารถอยู่รอดได้นานเป็นเดือนๆ แม้ไม่มีน้ำให้มันเลยสักหยด!! ในช่วงหน้าแล้ง เจ้าปลาปอดแอฟริกานี้จะทำการขุดโพรงไว้ใต้โคลน จากนั้นก็ปิดผนึกปากทางด้วยเมือก ระหว่างนั้นพวกมันจะหายใจเอาอากาศโดยตรงผ่านทางจมูก ในระหว่างนั้นมันก็ต้องลดการเผาผลาญพลังงานลงอย่างรวดเร็ว เพราะต้องอยู่รอดเป็นระยะเวลานานโดยไม่พึ่งพาอาหาร ขณะเดียวกันเจ้าปลาปอดนี้สามารถจมน้ำตายได้ จึงทำให้มันต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เจ้าปลาปอดต้องจำศีลอยู่ใต้ดินจนกระทั่งฤดูฝนอีกครั้ง เมื่อน้ำไหลมาทำให้ดินนิ่ม มันก็จะโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในน้ำต่อไป
สำหรับลักษณะของปลาปอดแอฟริกามีลักษณะร่วมกันทางสรีระคือ มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล มี 6 เหงือกหลัก และ 5 เหงือกย่อย ลำตัวมีลักษณะยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตรหรือเมตรครึ่ง ปลาปอดวงศ์นี้มีความสามารถเอาชีวิตรอดได้ในช่วงแห้งแล้ง โดยการลดการเผาผลาญพลังงานที่เรียกว่า Aestivation โดยขุดรูอยู่ใต้ดินได้ลึกถึง 1 เมตร และหุ้มห่อตัวด้วยเนื้อเยื่อคล้ายรังไหม พบได้ทั่วไปตามหนองน้ำในทวีปแอฟริกา มีตาขนาดเล็ก มีกรามที่แข็งแรงและแหลมคม สามารถขบกัดสัตว์มีเปลือกหรือหอยกินเป็นอาหารได้เป็นอย่างดี จะงอยปากยื่นยาวออกมาและงอนขึ้นข้างบน กล้ามเนื้อมีพละกำลังมาก มีนิสัยก้าวร้าวเมื่อถูกรบกวน แต่กระนั้นก็ยังตกเป็นอาหารของนกกินปลาขนาดใหญ่เสมอ ๆ
การจำแนก
มีเพียงสกุลเดียว คือ Protopterus แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดและแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีก คือ
1) P. aethiopicus -แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย
2) P. amphibius
3) P. annectens-แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย
4) P. dolloi
โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ P. aethiopicus ซึ่งสามารถใหญ่ได้ถึง 2 เมตร และชนิดที่เล็กที่สุด คือ P. amphibius ซึ่งยาวได้เต็มที่ 44 เซนติเมตร และเป็นชนิดเดียวที่มีพู่เหงือกอยู่ในช่องเหงือกยาวออกมาเห็นได้ชัดเจน คล้ายสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่เมื่อไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยของปลาด้วย
ปลาปอดแอฟริกาเป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้ปรุงเป็นอาหารบริโภคกันในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย จัดได้ว่าเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก เนื่องจากไม่ต้องให้ออกซิเจนจากเครื่องปั๊มเช่นปลาทั่วไป และกินอาหารได้ง่ายมากทั้งอาหารสดและอาหารเม็ด อีกทั้งในบางชนิดยังแพร่ขยายพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ด้วย
อ้างอิง
Kees (P. C.) Goudswaard, Frans Witte, Lauren J. Chapman, Decline of the African lungfish (Protopterus aethiopicus) in Lake Victoria (East Africa) East African Wild Life Society, African Journal of Ecology, 40, 42-52, 2002
wikipedia,
spnl
,
whozoo
,
allyouneedisbiology
บทความล่าสุด
20 ธันวาคม 2024
ตอนที่ 3 เทคนิคการเลือกซื้อปลาสวยงาม
3 ธันวาคม 2024
ตอนที่ 2 ประเภทของปลาสวยงาม
2 ธันวาคม 2024
ตอนที่ 1 ประวัติและความสำคัญของปลาสวยงาม