หลายคนคงเคยไปเที่ยวทะเลและดำน้ำเล่นพบสิ่งมีชีวิตหน้าตาประหลาดรูปทรงแจกันหรือทรงคล้ายกับถังสีชมพูอมน้ำตาลเกาะอยู่ตามแนวปะการัง สิ่งมีชีวิตที่กล่าวถึงคือฟองน้ำ (sponge)

1

รูปที่1 ฟองน้ำครก

ฟองน้ำเป็นพืชหรือเป็นสัตว์ จริงๆแล้วฟองน้ำเป็นสัตว์ทั้งที่มันมีรูปทรงเป็นพุ่มกลมและบางชนิดแตกกิ่งก้านคล้ายต้นไม้แต่ฟองน้ำเป็นสัตว์และเป็นสัตว์โบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่บนโลกนี้ มันเป็นสัตว์หลายเซลที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด บางชนิดมีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวเพื่อให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลเรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหารSnap 2015-08-28 at 10.25.45

ฟองน้ำส่วนมากอาศัยอยู่ในทะเลมีเพียงแค่บางชนิดที่อาศยในน้ำจืด ทั่วโลกพบฟองน้ำทั้งสิ้นประมาณ 7,000 ชนิด แต่ที่พบในไทยมีประมาณ 150 ชนิด

ฟองน้ำกินอาหารด้วยการกรอง (Filter feeder) โดยกรองน้ำผ่านตัวแล้วเซลจะใช้หนวดจับอาหารกินซึ่งสามารถกรองน้ำทะเลได้เป็นจำนวนมากและฟองน้ำกรองน้ำตลอดเวลาจึงมีบทบาทสำคัญของระบบนิเวศทางทะเลในแง่การปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลให้ใสสะอาดขึ้น โดยช่วยกำจัดตะกอนขนาดเล็กและลดปริมาณตะกอนสารอินทรีย์ในน้ำทะเล

ฟองน้ำสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งวิธีอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

วิธีอาศัยเพศโดยการสร้างอสุจิและไข่ไปผสมกันแล้วเจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลสั้น ๆ รอบตัว โดยตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางว่ายน้ำไปเกาะตามหิน

วิธีไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ

3

รูปที่3 ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง (Oceanpia sagittaria)

ฟองน้ำบางชนิดสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางสภาวะแวดล้อมทางทะเลได้ เช่น ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง (Oceanpia sagittaria) สร้างท่อน้ำออกเป็นท่อสูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอนของตะกอนแขวนลอยในน้ำทะเล บริเวณที่มีฟองน้ำทะเลชนิดนี้อยู่เป็นจำนวนมากสามารถบอกได้ว่า สภาวะแวดล้อมบริเวณนี้มีการตกตะกอนสูง

การใช้ประโยชน์ของฟองน้ำ

ใช้ในการทำความสะอาดร่างกายและของใช้ครัวเรือน ใช้ซับเลือดจากบาดแผล ใส่ไว้ในถุงกระเพาะอูฐเพื่อลดการสูญเสียน้ำระหว่างการเดินทางไกล ทำเครื่องสำอาง ใช้เผาไฟประกอบเครื่องยารักษาโรค ซับประจำเดือนสตรี และงานศิลปะแขนงต่างๆ และสกัดสารเคมีใช้ประโยชน์ทางการศึกษาวิจัย การแพทย์และเภสัช

ตัวอย่างฟองน้ำที่พบในประเทศไทย

[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]

4.1

ฟองน้ำลูกกอล์ฟ Paratetilla bacca

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]

4.2

ฟองน้ำเคลือบสีน้ำตาล  Petrosia (Petrosia) sp.1

[/bs_col][/bs_row]

[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]

4.3

ฟองน้ำครก Petrosia (Petrosia) sp.2 “vase”

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]

4.4

ฟองน้ำเปลี่ยนสี Pseudoceratina purpurea

 [/bs_col][/bs_row]

[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]

4.5

ฟองน้ำยืดหยุ่นสีดำ  Hyrtios erectus

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]

4.6

ฟองน้ำเคลือบสีส้ม  Haliclona (Haliclona) sp. “orange”

 [/bs_col][/bs_row]

เอกสารอ้างอิง

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/ฟองน้ำ
  2. http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/2010-08-09-09-38-28/235-marine-sponge-sumaitt