ลมบก เป็นลมเฉื่อยที่พัดอย่างเด่นชัดตามบริเวณชายฝั่งทะเลในตอนกลางคืนและพัดจากชายฝั่งลงสู่ทะเล เนื่องจากในช่วงตอนกลางคืน พื้นดินจะคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ จึงทำให้อากาศเหนือพื้นน้ำที่ยังอุ่นและลอยตัวสูงขึ้นสู่เบื้องบน อันเป็นเหตุทำให้กระแสอากาศจากภาคพื้นดินเคลื่อนลงไปแทนที่ ทำให้เกิดลมบกขึ้นมา ลมชนิดนี้จะพัดตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนกระทั่งถึงเวลา 10.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

          ลมทะเล เป็นลมที่พัดอย่างเด่นชัดในตอนกลางวันและพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง เนื่องจากลมนี้เป็นลมเย็นการเกิดลมชนิดนี้เนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำในตอนกลางวันอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินจะสูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำจึงทำให้มวลอากาศเหนือพื้นดินลอยตัวสูงขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศเบื้องบนมวลอากาศเย็นที่อยู่เหนือพื้นน้ำจึงเคลื่อนเข้ามาแทนที่และทำให้เกิดลมทะเลปรากฏขึ้นลมทะเลจะเริ่มพัดตอนเช้าตั้งแต่เวลา 10.00 น. และมีกำลังแรงสุดในตอนบ่าย จะสิ้นสุดลงเมื่อดวงอาทิตย์ตก ประมาณเวลา 21.00 น. ลมทะเลสามารถพัดลึกเข้าไปในภาคพื้นดินห่างจากชายฝั่งราว 70 กิโลเมตร

          ลมมรสุมประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลต่อสภาพของคลื่นลมในทะเล รวมถึงคุณภาพของน้ำทะเลโดยเฉพาะความขุ่นใส ตะกอนแขวนลอย และสารอาหารลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย เป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร ลมมรสุมนี้นำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนชุก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี

          คลื่นทะเลคลื่นทะเลเกิดจากลม แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด อิทธิพลที่มีผลต่อกำลังแรงของคลื่นทะเล มาจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคต่าง ๆ และความกดอากาศ ซึ่งทำให้ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงมากหรือน้อยตามฤดูกาล มีฝนตกชุกหนาแน่นแตกต่างกันไป มีผลต่อความสูงของคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน

          คลื่นพายุซัดฝั่งเป็นลักษณะของคลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดในทะเลและมหาสมุทรขณะที่พายุกำลังเคลื่อนขึ้นฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นอยู่กับความแรงของพายุ คลื่นพายุซัดฝั่งนี้มีกำลังในการทำลายล้างสูงมาก ดังเช่นพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2505 และพายุไต้ฝุ่น “เกย์” เมื่อปี พ.ศ. 2532 ที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร คลื่นพายุซัดฝั่งนี้เกิดในขณะที่พายุเคลื่อนขึ้นฝั่ง โดยทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่โถมเข้าใส่บริเวณที่พักอาศัยแถบชายฝั่งทะเลเป็นบริเวณกว้าง ประเทศไทยมีบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่งโดยตรงคือบริเวณภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกพายุมักจะเคลื่อนตัวจากอ่าวไทยขึ้นสู่ฝั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

 

เอกสารอ้างอิง

http://marinegiscenter.dmcr.go.th/kiosk/km_inner.php

เรียบเรียงโดย นายสุรพงษ์ บรรจงมณี

 

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว