อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย

ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบกของประเทศ (พื้นที่ทางบกประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร) โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจึงได้กำหนดเขตน่านน้ำทางทะเลออกเป็น 6 เขต

เขตที่ 4 เขตเศรษฐกิจจำเพาะ

คือ บริเวณที่อยู่เลยไปจากและประชิดกับทะเลอาณาเขต โดยเขตเศรษฐกิจจำเพาะจะต้องไม่ขยายออกไปเลย 200 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต (อนุสัญญาฯ ข้อ 55 และข้อ 57) ได้แก่ พื้นที่ที่แสดงด้วยสีฟ้าเข้มและสีม่วง รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเพื่อความมุ่งประสงค์ในการสำรวจ (exploration) และการแสวงประโยชน์ (exploitation) การอนุรักษ์ (conservation) และการจัดการ (management) ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตในน้ำเหนือพื้นดินท้องทะเล (water superjacent to the seabed) และในพื้นดินท้องทะเล (sea-bed) กับดินใต้ผิวดิน (subsoil) ของพื้นดินท้องทะเลนั้น และมีสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ เพื่อการแสวงประโยชน์และการสำรวจทางเศรษฐกิจในเขต อาทิเช่น การผลิตพลังงานจากน้ำ (water) กระแสน้ำ (currents) และลม (winds) (อนุสัญญาฯ ข้อ 56 วรรคหนึ่ง (เอ)) รัฐชายฝั่งมีสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive rights) ในการสร้างหรืออนุญาตให้สร้าง และควบคุมการสร้างเกาะเทียม (artificial islands) สิ่งติดตั้ง (installations) และสิ่งก่อสร้าง (structures) เพื่อทำการสำรวจ และแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่มีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือควบคุมการใช้สิ่งติดตั้งหรือสิ่งก่อสร้างอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ สิทธิของรัฐชายฝั่งในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ รัฐอื่นๆ ย่อมมีเสรีภาพในการเดินเรือ (freedom of navigation) การบินผ่าน (freedom of over flight) การวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล (freedom of the laying of submarine cables and pipelines)

รูปอาณาเขตทางทะเลของไทย พื้นที่สีฟ้าเข้มคือพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/wp-content/uploads/2013/07/marinetime-zone.jpg

 

เอกสารอ้างอิง