วงศ์ใหญ่ : Chelonioidea Bauer, 1893
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chelonioidea
แหล่งที่พบ : พบมากในอ่าวไทยที่เกาะคราม จ.ชลบุรี หมู่เกาะ ใกล้เคียงและพบกระจัดกระจายเล็กน้อยที่หมู่เกาะตะรุเตาและเกาะสุรินทร์ทางฝั่งทะเลอันดามัน
ลักษณะที่สำคัญ : ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำและขึ้นมาบนบกเมื่อวางไข่มีกระดองค่อนข้างแบนและ น้ำหนักเบาเท้าทั้งสี่จะมีลักษณะแบนเป็นครีบเพื่อใช้ในการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว กินพืชเป็นอาหารหลัก มีอายุขัยประมาณ 40 ปีเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดคือเต่ามะเฟือง

การวางไข่ของเต่าทะเล

การวางไข่แม่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดที่เงียบสงบซึ่งในช่วงฤดูวางไข่แม่เต่าสามารถขึ้นวางไข่ได้มากถึง10 ครั้งในทุกๆ10-12 วันและจะกลับมาวางไข่ในทุกๆ2-4 ปีโดยมีอัตรารอดของลูกเต่าเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเลได้เพียง1ใน 1,000 ตัวเท่านั้น

จะเห็นว่ากว่าลูกเต่าทะเลตัวน้อยๆเติบโตจนกลายเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้นั้นมีโอกาสน้อยมากด้วยหลากหลายสาเหตุปัจจัยในระบบนิเวศทะเลที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของเต่าทะเล ดังนั้นบทบาทที่สำคัญต่อการอนุรักษ์เต่าทะเลตกมาอยู่ที่มนุษย์โดยเฉพาะชุมชนผู้อยู่อาศัยตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่

การจำแนกเต่าทะเล

ปัจจุบันมีเต่าทะเลทั้งหมด 7 ชนิดโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อยคือ Cheloniidae ซึ่งเต่าทะเลส่วนมากจะอยู่ในวงศ์นี้กับวงศ์ Dermochelyidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ได้แก่

วงศ์ Cheloniidae

เต่าหัวค้อน (Caretta caretta)

 เต่าตนุ (Chelonia mydas)

เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)

เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii)

 เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)

เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus) 

วงศ์ Dermochelyidae

 เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea

             ซึ่งในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ,เต่ากระ,เต่าหญ้า,เต่ามะเฟืองและเต่าหัวค้อน

อาหารและการกินอาหารของเต่าทะเล

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหารส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆและเมื่อโตขึ้นจะกินพืชเพียงอย่างเดียวส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้โดยธรรมชาติแล้วจะไม่พบสัตว์ในกระเพาะของมันตากตัวอย่างที่ได้พบเต่าติดอวนและตายลงเนื่องจากคอหัก เมื่อผ่าดูและตรวจดูที่บริเวณกระเพาะของมันปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย(Sargassum sp.) และสาหร่ายสีเขียว(green algae)อยู่เป็นจำนวนมากไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือนกับเต่ากระที่กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆเช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปู ปลา หอย และพืชรวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหิน

การผสมพันธุ์ของเต่าทะเล

การผสมพันธุ์ของเต่าทะเลเป็นการผสมพันธุ์แบบภายใน(Internal Fertilization)การผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งของเต่าทะเลใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และจะอยู่ในช่วงเวลาน้ำขึ้นโดยที่เต่าทะเลเพศผู้จะใช้อุ้งเท้า (Forelimp)ประกบจับด้านหลังของเต่าทะเลเพศเมีย หลังจากนั้นเต่าทะเลเพศผู้จะขึ้นคล่อมอยู่บนหลังเต่าทะเลเพศเมียโดยใช้ระยางค์ทั้งสี่จับแน่นพร้อมกันนั้นเต่าทะเลเพศผู้และเพศเมียจะยื่นอวัยวะเพศของทั้งสองมาพบกันและเต่าทะเลเพศผู้ก็จะถ่ายน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะเพศเมียเข้าสู่ท่อมดลูกซึ่งแยกออกเป็นสองท่อหลังจากนั้นอีกประมาณ1สัปดาห์แม่เต่าตัวนั้นก็จะขึ้นมาวางไข่

อวัยวะของเต่าและเพศเมียจะสามารถเห็นได้ชัดเจนในขณะวางไข่ซึ่งจะมีลักษณะยื่นยาวออกมาและจะหดเมื่อทำการวางไข่เสร็จ ตัวอย่างเช่น เต่าตนุที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไม้ขาวในคืนของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2507 ออกไข่ 132 ฟองและสามารถวัดอวัยวะเพศเมียได้มีขนาดของความยาวประมาณ 6 นิ้วฟุตเศษอวัยวะส่วนนี้ประกอบด้วยผิวหนังที่มีความยืดหยุ่น

เต่าทะเลทุกชนิดมีการวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทะเลและลดการแก่งแย่งกันเอง เช่น การกินอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งเต่าทะเลกินได้ทั้งพืชและสัตว์แต่ทว่าก็จะมีการกินที่แตกต่างออกไปในแต่ละชนิด การขึ้นมาวางไข่บนหาดที่มีลักษณะและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระดองก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปรได้ตามสิ่งแวดล้อมโดยในปัจจุบันพบเต่าทะเลได้ในมหาสมุทรและทะเลทั่วโลกยกเว้นมหาสมุทรใต้เท่านั้น

อ้างอิง

ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล กองทัพเรือ

อุทยานแห่งชาติสิรินาถ”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.

เว็บไซต์องค์กรอนุรักษ์เต่าทะเลอย่างเป็นทางการ

“Cheloniidae”. ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.

วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 358-359 (พ.ศ. 2552)