ชื่อไทย: ฉลามเสือดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stegostoma fasciatum

ชื่ออังกฤษ: Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark

%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a71

วงจรชีวิต

ปลาฉลามเสือดาว วางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก

การสืบพันธุ์

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c1

ปลาฉลามเสือดาวเพศผูู้มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ลักษณะ      เป็นติ่งเนื้อเรียกว่า claspers เพศเมียมีช่องสืบพันธุ์เรียกว่า cloaca สืบพันธุ์โดยการวางไข่ (oviparous)  เริ่มจากการที่ปลาฉลามตัวผู้และฉลามตัวเมียว่ายนํ้ามากกว่าปกติ โดยตัวเมียว่ายนําตัวผู้เคียงคู่กันไปตลอด ตัวผู้เริ่มประชิดตัวเมียมากขึ้นแล้วกัดครีบหู (pectoral fin) ของตัวเมียทั้งครีบไว้แน่น และว่ายนํ้าเคียงคู่กันไปโดยมีการหยุดเป็นระยะๆ จากนั้นทั้งคู่บิดตัวเข้าหากัน โดยตัวผู้งอตัวประกบตัวเมียเพื่อสอดอวัยวะที่ช่วยในการสืบพันธุ์ (claspers) เข้าไปในช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย (cloaca) อย่างรวดเร็วจนมิดในลักษณะตัวติดกันแน่น ขณะเดียวกันก็เคลื่อนที่ไปด้วย และหยุดนิ่งเป็นระยะจากนั้นทั้งคู่ก็ทิ่มหัวดิ่งลงสู่พื้น มาอยู่ในลักษณะนอนราบกับพื้นและดิ้นแยกออกจากกัน ชอบอาศัยอยู่ตามหน้าดินพื้นทะเล มีนิสัยชอบนอนนิ่งสามารถกบดานอยู่กับที่

อาหาร

หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู หมึกยักษ์ ปลาขนาดเล็กตามพื้นทะเล

การแพร่กระจาย

ถิ่นการกระจายในประเทศไทย: การแพร่กระจาย: โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย, ถิ่นการกระจายในประเทศไทย: ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จุดที่พบบ่อย กองหินตาชัย หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะใกล้จังหวัดภูเกต การแพร่กระจาย: พบในเขตร้อน ในทะแดง มหาสมุทรอินเดีย

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว