วันที่ 16 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันเต่าทะเลโลก (World Sea Turtle Day)” เนื่องจากในปัจจุบันเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จนน่าตกใจ โดยมีการค้นพบว่าเต่าทะเลทั่วโลก มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ เต่าหลังแบน เต่าตนุดำ เต่าหญ้าแอตแลนติก เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อน และเต่ามะเฟือง แต่พบในไทยเพียง 5 ชนิดเท่านั้น จึงกำหนดวันเต่าทะเลโลกขึ้นเพื่อปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมใจกันอนุรักษ์เจ้าเต่าน้อยให้คงอยู่กับโลกเราต่อไปอีกยาวนาน
เต่าทะเลที่พบในประเทศไทย มี 5 ชนิด คือ 1. เต่ามะเฟือง 2. เต่าตนุ 3. เต่าหัวค้อน 4. เต่ากระ และเต่าหญ้า จาก 7 ชนิด ทั่วโลก โดยเต่าทะเลมีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตโซนร้อน (Tropical zone) และกึ่งโซนร้อน (Sub-tropical zone) ซึ่งในประเทศไทยพบการแพร่กระจายทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยพบว่า เต่าทะเลในประเทศไทยมีการวางไข่เพียงแค่ 4 ชนิด ในแหล่งสัคัญ คือ 1. เกาะหูยง (สิมิลัน) หาดท้ายเหมือง พังงา 2. เกาะตรุเตา สตูล เป็นต้น ยกเว้นเต่าหัวค้อนไม่วางไข่ในประเทศมามากกว่า 30 ปีแล้ว อีกทั้งฝั่งอ่าวไทยมีวางไข่เพียงแค่ 2 ชนิด คือ เต่าตนุและเต่ากระเท่านั้น คือ1. เกาะคราม ชลบุรี 2. เกาะกระ นครศรีธรรมราช และ 3. เกาะทะลุ ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
พบว่าเต่าทะเลในประเทศไทย ทั้ง 5 สายพันธุ์ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั้งหมด โดยมีเต่ามะเฟืองเสี่ยงมากที่สุด รองลงมา คือ เต่าหัวฆ้อน เต่าหญ้า เต่ากระ และเต่าตนุ ตามลำดับ
– ปัจจัยที่ทำให้เต่าลดลงเพราะอะไรบ้าง
มาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้นที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อการลดลงของประชากรจนใกล้สูญพันธุ์ จากสาเหตุหลักๆ คือ
- การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่บุกรุกแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล
- การลักลอบเก็บไข่เต่าและจับเต่าทะเลเพื่อบริภคหรืออุปโภค
- การติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญหรือตั้งใจ
- การกระทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการวางไข่และฟักไข่
- ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสัดส่วนเพศของเต่าทะเลที่ส่งผลให้เกิดภาวะสูญพันธุ์ได้
- การจราจรทางเรือที่ก่อให้เกิดการชนหรือโดยใบพัดเรือ
- ขยะทะเลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ไปยึดติดหรือพันธนาการอวัยวะภายนอกก่อให้เกิดการบาดเจ็บและตายหรือกินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดการป่วยและตายได้
- การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดจากการบุกรุกชายหาด ตัดต้นไม้ หรือการสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นที่ไม่เหมาะสมตามหลักวิชาการของกรม ทช.