ชื่อไทย: หอยเม่น / เม่นทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Diadema setosum

ชื่ออังกฤษ: Sea urchin

%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%99

ชีววิทยา

เม่นทะเล หรือ หอยเม่น อยู่ในกลุ่มเอคไคนอยด์ที่มีสมมาตร อาศัยอยู่ตามพื้นแข็ง มีสีต่างกัน ด้านที่เกาะกับพื้นเป็นปาก ทวารหนักอยู่กลางลำตัว ด้านบนสุด เม่นทะเลจะมีหนามสองขนาด หนามขนาดยาวใช้ในการผลักดันพื้นแข็ง ขุดคุ้ยสิ่งต่างๆหรือช่วยในการฝังตัว หนามเล็กสั้นใช้ยึดเกาะเวลาปีนป่าย เม่นทะเลที่มีพิษจะมีหนามที่กลวงและมีพิษอยู่ภายใน หนามนี้จะแทงทะลุผิวหนังได้ง่าย เมื่อหักจะปล่อยสารพิษออกมา

วงจรชีวิต

สมมาตรร่างกาย ตัวอ่อนเป็นเเบบครึ่งซีก ตัวเต็มวัยมีเมเเทมอร์โฟซิสกลายเป็นสมมาตรเเบบรัศมี    ตัวอ่อนใช้ชีวิตล่องลอยในน้ำก่อนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยและลงเกาะบนพื้นทรายในทะเล

การสืบพันธุ์

เม่นทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ปล่อยไข่และสเปิร์มนอกลำตัว ทำให้เกิดการปฏิสนธิในน้ำทะเล โดยที่พ่อและแม่อาจไม่เคยพบกันเลย สเปิร์มและไข่แม้มีการปฏิสนธิภายในน้ำทะเลที่มีพื้นที่ไม่จำกัด  แต่จะเกิดการปฏิสนธิเฉพาะในสายพันธุ์เดียวกันเท่านั้น การออกไข่แต่ละครั้งในปริมาณนับล้าน ไข่และตัวอ่อนมีลักษณะใส มองเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ชัดเจน วงชีวิตที่สั้น

อาหาร

อาหารของเม่นทะเลคือสาหร่าย สัตว์ที่ตายแล้ว และสัตว์ไม่มีกระดูก

แหล่งที่อยู่

พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการัง ทรายปนโคลนหรือซอกหิน

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว