ชื่อสามัญ ปลาปล้องอ้อย Khuli loach

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาปล้องอ้อย Pangio kuhlii (Valenciennes, 1846)

มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ปลาปล้องอ้อยเป็นปลาที่ว่องไว รวดเร็ว กระโดดสูงและไกลมากเวลาตกใจ  ลักษณะทั่วไปของปลาปล้องอ้อย เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กของไทย มีรูปร่างค่อนข้างแปลก คล้ายหนอน มีลำตัวกลมยาว ทำนองเดียวกับปลาไหล แต่แบนข้างค่อนไปทางด้านหาง สีพื้นของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเทาดำ มีแถบสีเหลืองพาดขวาง ตามลำตัวเป็นปล้อง ๆ ลักษณะภายนอกดูคล้ายงู ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไวมาก มีความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ชอบอุณหภูมิ 23-27 องศา ค่าPH 6.5-7.2 เพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ชอบอาศัยอยู่ตามลำธารที่มีพื้นเป็นทราย ปลาปล้องอ้อยเคลื่อนไหวโดยการสะบัดท่อนหางอยู่เสมอ ปกติชอบน้ำที่ใสในเวลากลางวันมักหลบซ่อนตัวอยู่ตามวัสดุ พืชน้ำ หรือทรายตามพื้น เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงออกมาหากินอาหาร แต่สามารถให้กินอาหารได้ตลอดเวลา อาหารของปลาปล้องอ้อย ได้แก่ ตัวหนอน ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ตามพื้นใต้น้ำเป็นอาหาร ปลาปล้องอ้อยเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและมีความสำคัญทางธุรกิจส่งออกต่างประเทศ สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร (2541) ได้จัดลำดับความสำคัญ ในการส่งออกให้ปลาปล้องอ้อยเป็นปลาที่มีความสำคัญมาก ในประเภทปลาพื้นเมืองสวยงามส่งออกที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันจำนวนปลาปล้องอ้อยที่จับได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงมาก

เรียบเรียงโดย นายเกียรติศักดิ์ เอี่ยนเล่ง นักวิชาการประมง

บทความล่าสุด

7 ธันวาคม 2023

กั้งตั๊กแตน

22 พฤศจิกายน 2023

ปลากระทิงไฟ