ชื่ออังกฤษ : Alligator gar

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atractosteus spatula

วงศ์ : Lepisosteidae

สกุล : Atractosteus

สปีชีส์ : A.  spatula

ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้เป็นปลากินเนื้อน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์

ลักษณะสำคัญ

คือ มีส่วนปากยาวคล้ายกับจระเข้หรืออัลลิเกเตอร์ รูปร่างกลมยาว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลามีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาวบริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก2ครีบซึ่งโคนหางด้านบนมีขนาดใหญ่กว่าโคนหางด้านล่างอย่างเห็นได้ชัดเจนครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีโครงสร้างของเกล็ดที่แข็งและสากปกคลุมลำตัวลักษณะเชื่อมติดกันเป็นแผ่นแข็งแรงคล้ายโล่เพื่อป้องกันการกัดแทะจากผู้ล่า

แหล่งอาศัย : พบมากในแม่น้ำและบึงที่มีน้ำตื้นในทวีปอเมริกาเหนือและเม็กซิโก

ขนาด : โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 2.92 เมตร

อาหาร : มักจะกินทุกอย่างที่เข้าปากมันได้

นิสัย : ค่อนข้างรักสงบ ไม่ก้าวร้าว สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงได้ ชอบอยู่รวมกัน

คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 6.5-7.5

อุณหภูมิ : อุณภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 23-30 องศาเซลเซียส

ปลาอัลลิเกเตอร์ ถือกำเนิดขึ้นมานานกว่า 100 ล้านปีแล้วในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่ด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่และเกล็ดที่แข็งแรงทำให้ปรับตัวและอยู่รอดได้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปลาอัลลิเกเตอร์เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายไม่ทำร้ายหรือกินมนุษย์เป็นอาหารแต่จะกินปลาต่างๆแต่จะกินอาหารชิ้นที่พอที่จะกลืนลงไปได้เท่านั้น

ปลาอัลลิเกเตอร์สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำมีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ เช่น น้ำที่ขุ่นข้นสภาพพื้นน้ำเป็นโคลน เนื่องจากมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอดช่วยในการหายใจทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำได้

เมื่อจับเหยื่อได้แล้วกรามจะล็อกแน่นเพื่อไม่ให้เหยื่อดิ้นหลุด เนื่องจากส่วนหัวมีเนื้อที่ยึดติดกับแผ่นเกล็ดที่แข็งเหมือนเกราะติดกับข้อต่อส่วนคอทำให้แลดูส่วนลำคอลาดโค้งทำให้มีแรงงับจำนวนมากก่อนที่จะกลืนเหยื่อลงไปในคอ

ปัจจุบันจึงทำให้ปลาอัลลิเกเตอร์หลงเหลือเฉพาะภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและถูกอนุรักษ์ปลาอัลลิเกเตอร์เป็นปลาที่นิยมและนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามและจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่างๆซึ่งในปัจจุบัน สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว

อ้างอิง

Atractosteus spatula”. ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.

Alligator Gar, “River Monsters”. สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ตทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

ปลาปากจระเข้ จากผู้จัดการออนไลน์

น้ำท่วมแนะระวัง’ปลาปากจระเข้’ จากคมชัดลึก