ปะการังเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะเด่นคือ มีโพรงในลำตัว มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้นระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 มีลักษณะเป็นวุ้นมีช่องปากแต่ไม่มีทวารหนัก มีหนวดซึ่งมีเซลล์เข็มพิษเพื่อป้องกันตัวหรือจับเหยื่อเป็นอาหารเรียงรายอยู่รอบปาก ปะการังมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ โครงสร้างภายนอกเป็นหินปูนเปรียบเสมือนกระดูก ซึ่งหินปูนจะเป็นส่วนที่รองรับเนื้อเยื่อของตัวปะการัง และเนื้อเยื่อของตัวปะการังซึ่งเรียกว่าโพลิป (Polyp) โพลิปประกอบด้วยปากซึ่งเป็นช่องเปิดเข้าไปในช่องว่างภายในลำตัวและหนวดเรียงเป็นวงรอบปากทำหน้าที่จับแพลงก์ตอนที่ลอยอยู่ในน้ำส่งเข้าปาก โดยทั่วไปตัวปะการังจะมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกเล็ก ๆ แต่ละกระบอกจะมีช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของปะการังแต่ละตัว  ดังนั้น เวลาน้ำลดปะการังก็จะหดตัวเขาไปอยู่ในช่องซึ่งถือเป็นบ้านของปะการัง จะเห็นว่าในปะการัง 1 ก้อน  1  กอ หรือ  1  แผ่น  ประกอบไปด้วยปะการังจำนวนมาก โดยมีเนื้อเยื่อเชื่อมติดกั

ที่มาภาพ : https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-685.html

        ภายในเนื้อเยื่อปะการังนั้นมีสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กมากอาศัยอยู่ สาหร่ายเซลล์เดียวนี้คือ ซูแซนเทลลี่ (zooxanthellae)  ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้เช่นเดียวกันกับพืชบนบกทั่วไป โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตคาร์โบไฮเดรตและออกซิเจนออกมา คาร์โบไฮเดรตที่ซูแซนเทลลี่ ผลิตได้นั้นจะส่งไปให้โพลิปปะการังประมาณ 90 % ซึ่งจะเป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของโพลิปปะการัง  พลังงานนี้ปะการังใช้เพื่อการเติบโต สืบพันธุ์ แข่งขันกับปะการังหรือสัตว์ อื่น ๆ และใช้ในการสะสมหินปูนเพื่อสร้างโครงร่างแข็งของปะการัง

ที่มาภาพ : https://ngthai.com/science/26012/coral-bleaching/

กลไกการกินอาหารของปะการังมี 4 แบบ คือ

  1. การกินอาหารโดยการล่าเหยื่อ (Predation feeding) โดยใช้เข็มพิษปลายหนวดแทงเหยื่อ และใช้หนวดจับเหยื่อเข้าปาก หรือวิธีอื่นเช่น การปล่อยตาข่ายน้ำเมือก ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับเข็มพิษ

  2. การกินอาหารที่แขวนลอยในน้ำ (Suspension feeding) จะพบในปะการังที่มีโพลิปขนาดใหญ่ โดยส่วนมากจะยื่นโพลิปเพื่อกินอาหารในเวลากลางคืน เนื่องจากมีแพลงก์ตอนหรืออาหารมากกว่าในเวลากลางวัน หรือจะยื่นตัวออกมาเมื่อหิว

  3. การกินโดยการดูดซึมอาหาร (Osmotic feeding) อาศัยกระบวนการแรงตึงผิว ดูดซึมสารไนโตรเจนจากโปรตีนที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยการซึมผ่านผิวปะการังโดยตรง และขับออกในรูปของเสีย เช่น แอมโมเนีย

  4. การกินอาหารจากการสังเคราะห์แสง (Autotrophic feeding) ปะการังจะได้รับสารอาหารและพลังงานจากกระบวนสังเคราะห์แสงของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อปะการัง

เอกสารอ้างอิง

https://www.scimath.org/article-biology/item/597-coral
http://gaogaois.blogspot.com/2015/12/blog-post_6.html
https://www.dmcr.go.th/detailAll/24074/nws/141
https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-685.html

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว