ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (อังกฤษ: Fiddler crabs, Ghost crabs) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae มีลักษณะโดยรวมคือ กระดองรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีก้านตายาว กระดองมีสีสันสวยงามต่าง ๆ ตัวผู้มีลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อเรียก คือ มีก้ามข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดใหญ่กว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้ก้ามข้างนี้ในการโบกไปมาเพื่อขู่ศัตรูและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันอีกด้วย ขณะที่ปูตัวเมียก้ามทั้ง 2 ข้างจะเล็กเท่ากัน

ปูก้ามดาบ พบตามป่าชายเลน และป่าโกงกาง กินสาหร่ายขนาดเล็ก และซากสัตว์เป็นอาหาร ธรรมชาติเร้นลับ ของปูก้ามดาบที่น่าอัศจรรย์ใจ อีกอย่างหนึ่งก็คือ มันสามารถรู้กำหนด เวลาน้ำขึ้นน้ำลง ได้อย่างดีเยี่ยม ปูก้ามดาบ จะออกจากรูก่อนน้ำขึ้นน้ำลง ช้าเร็วกว่ากันราวๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่อง มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ปูก้ามดาบเป็นที่นิยมจับมาขาย ในตลาดซันเดย์ จตุจักร แต่การนำมาเลี้ยง ต้องอาศัย ความเอาใจใส่ ดูแลและสร้างสภาวะแวดล้อมให้คล้าย ธรรมชาติมากที่สุด ถึงสามารถ เลี้ยงได้รอด

ถิ่นที่อยู่ปูก้ามดาบอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือหาดทรายริมทะเล พบได้ทั่วไปในเขตแอฟริกาตะวันตก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก โดยใช้ก้ามข้างเล็กนั้นคีบหาอาหารและป้อนอาหารเข้าปาก อาศัยโดยการขุดรูอยู่ ต่อเมื่อน้ำลงก็จะออกมาหาอาหาร โดยเวลาจะลงรูจะใช้ข้างที่เล็กกว่าลงก่อน ซึ่งก้ามข้างที่ใหญ่ขึ้น เมื่อขาดไป ข้างที่เล็กกว่าจะใหญ่ขึ้นมาแทน และข้างที่เคยใหญ่ขึ้นอาจงอกมาเป็นเล็กกว่าหรือสลับกันไปก็ได้

ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคกันเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยอาจเลี้ยงได้ในน้ำที่มีความเค็มต่ำ แต่มิอาจจะรอดให้รอดได้ในน้ำจืด

ปูก้ามดาบเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียอาจเลือกตัวผู้เป็นร้อยตัว เมื่อจับคู่ได้แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายนำตัวเมียลงไปผสมพันธุ์ในรู และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลตัวเมียและไข่ที่บริเวณปากรู รอจนกว่าให้ตัวเมียฟักไข่จนออกมาเป็นตัวสมบูรณ์

รูของปูก้ามดาบ จะมีลักษณะตรงเป็นทรงกระบอก ภายในรูส่วนใหญ่จะมีน้ำขังอยู่ประมาณ 60 % ส่วนตรงกลางรูจะป่องออก รูของปูก้ามดาบเมื่อถูกทำลายก็จะสร้างรูใหม่ขึ้นมาทันที โดยเพศเมียใช้ขาที่ 1 ขาที่ 2 ขาที่ 3 และ ขาที่ 4 ของข้างใดข้างหนึ่งปักลงไปในดินแล้วขุดดินขึ้นมา ส่วนเพศผู้จะขุดดินได้เฉพาะข้างที่มีก้ามเล็ก ก้ามเล็กของเพศเมียและเพศผู้จะช่วยพยุงและดึงดินขึ้นมาจากหลุมที่เพิ่งขุด ปูก้ามดาบจะขุดไปเรื่อยๆจนกว่าจะพอดีกับขนาดของลำตัว เมื่อขุดรูจนเป็นที่พอใจแล้วปูก้ามดาบก็จะลงไปในรูแล้วใช้กระดองดันรูแล้วหมุนตัว กระดองจึงถูกับผนังรูส่งผลให้รูมีลักษณะเรียบ

ธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ใจของปูก้ามดาบอีกอย่างหนึ่ง คือ ปูก้ามดาบสามารถรู้กำหนดเวลาน้ำขึ้นน้ำลงได้อย่างดีเยี่ยม โดยก่อนที่น้ำจะขึ้นราว 1 – 2 ชั่วโมง มันจะลงไปอยู่ในรูพร้อมทั้งนำดินมาปิดปากรู เพื่อป้องกันน้ำไหลลงรู ทำให้พื้นดินเลนบริเวณนั้นที่เคยมีรูเล็กน้อยอยู่เต็มไปหมดกลับกลายเป็นผิวดินเลนราบเรียบเหมือนกับไม่มีปูขุดรูอาศัยอยู่ ดังนั้นหากเราเห็นปูก้ามดาบนำดินมาปิดปากรูเมื่อไร ก็คาดคะเนได้ว่าอีกราว 1 – 2 ชั่วโมง จะมีน้ำทะเลหนุนขึ้นมาสูงท่วมพื้นที่บริเวณนั้น ถ้าเราลองทดลองนำปูก้ามดาบมาไว้ในตู้จำลองพื้นที่ป่าชายเลน ปูก้ามดาบในตู้จำลองจะแสดงอาการขุดรูตรงตามเวลาน้ำขึ้นลงในธรรมชาติ ทั้งที่สภาพในตู้จำลองไม่มีการขึ้นลงของน้ำจริง ยิ่งไปกว่านั้นในวันถัดไปปูก้ามดาบจะแสดงอาการขุดรูช้าไปจากวันก่อน 50 นาที ซึ่งตรงตามธรรมชาติของน้ำขึ้นน้ำลงที่ช้าลงวันละ 50 นาที พฤติกรรมที่ปูก้ามดาบแสดงออกมาต่อช่วงเวลานี้ เรียกว่า “นาฬิกาชีวภาพ” ที่อยู่ในปูก้ามดาบนั้นเอง

บทความล่าสุด