ชื่อไทย: หอยมือเสือ

Common name: Giant clam

เป็นหอยสองฝาในวงศ์ Tridacnidae พบน่านน้ำประเทศไทย 4 ชนิด แต่ที่ยังมีชีวิตอยู่มี 3 ได้แก่  Tridacna squamosa , T. maxima และ Tridacna crocea ส่วน T. gigas พบเพียงแค่เปลือกเท่านั้น

tridacna

รูปหอยมือเสือ Tridacna squamosa

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/73/Tridacna_-_Kopie.jpg/220px-Tridacna_-_Kopie.jpg

T.maxima

รูปหอยมือเสือ T. maxima

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/31/Tridacna_maxima_%C3%A0_la_R%C3%A9union.jpg/294px-Tridacna_maxima_%C3%A0_la_R%C3%A9union.jpg

T.crocea

รูปหอยมือเสือ T. crocea

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/09/Tridacna_crocea_recorte.jpg/250px-Tridacna_crocea_recorte.jpg

T.gigas

รูปหอยมือเสือ T. gigas  ซึ่งปัจจุบันพบเพียงแค่เปลือกเท่านั้น

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/11/Giant_clam_or_Tridacna_gigas.jpg/220px Giant_clam_or_Tridacna_gigas.jpg

วงจรชีวิต

          เมื่อหอยปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ในน้ำหลังจากนั้นประมาณ 12 ชั่วโมงจะเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนเรียกว่า Trochophore หลังจากนั้นอีก 2 วันจะเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนเรียกว่า Veliger ซึ่งมีเปลือกความยาวประมาณ 160 ไมครอน เมื่ออายุ 9 วัน จะพัฒนาอวัยวะคล้ายเท้าเรียกระยะนี้ว่า pediveliger มีขนาดเปลือกประมาณ 200 ไมครอน อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ลูกหอยจะสร้างอวัยวะยึดเกาะพื้นเรียกว่า byssus แล้วเจริญเติบโตเป็นหอยมือเสือขนาดใหญ่ต่อไป

การสืบพันธุ์

          หอยมือเสือเป็นสัตว์ 2 เพศในตัวเดียวกัน (Simultaneous hermaphrodite) พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 2 ปี โดยจะเป็นตัวผู้ก่อนแล้วหลังจากนั้นจะมีการพัฒนาอวัยวะเพศเมีย (ป้องกันการผสมพันธุ์ในตัวเอง) น้ำเชื้อจะถูกปล่อยออกมาก่อนแล้วหลังจากนั้นครึ่งชั่วโมงไข่จะปล่อยออกมาซึ่งจะกระตุ้นให้หอยมือเสือตัวอื่นปล่อยน้ำเชื้อออกมา

อาหาร

          ขณะที่เป็นลูกหอยจะกรองกินแพลงค์ตอนขนาดเล็กเป็นอาหารแต่เมื่อกินแพลงค์ตอนในกลุ่ม zooxanthellae เข้าไปแพลงค์ตอนกลุ่มนี้จะไม่ถูกย่อยแต่จะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในเนื้อเยื่อและร่างกายของหอยมือเสือ เมื่อหอยมือเสือเปิดฝาออกรับแสง zooxanthellae จะสังเคราะห์แสงแล้วแบ่งอาหารให้หอยมือเสือ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของหอยมือเสือ

แหล่งที่อยู่

          พบตามแนวปะการังและบริเวณที่น้ำใสแสงแดดส่องถึงได้ดีถึงความลึกประมาณ 20 เมตร

เอกสารอ้างอิง