ชื่อภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น Lionfish, Turkeyfish, Firefish, Butterfly-cod

เป็นปลาทะเลในครอบครัว (family Scorpaenidae)

11

ภาพที่1.ปลาสิงโตปีกจุด Red lionfish (Pterois volitans)

ปลาสิงโตมีลำตัวยาวปานกลางแบนข้างเล็กน้อยมีหัวขนาดใหญ่ ลำตัวและหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มสลับกับสีน้ำตาลอ่อนและสีขาว ชื่อปลาสิงโตอาจจะมาจากครีบอกและครีบหลังที่แผ่ออกซึ่งแล้วคล้ายกับแผงคอของสิงโต แต่ครีบที่แผ่ออกมาแต่ละครีบนั้นประกอบด้วยก้านครีบที่เป็นหนามและมีต่อมพิษที่ก้านครีบแข็งทุกก้านและมีต่อมพิษจำนวนมากอยู่ใต้ผิวหนัง

2

ภาพที่2. ใบหน้าปลาสิงโต

โดยทั่วไปมักพบปลาสิงโตว่ายน้ำช้าๆตามแนวปะการัง กองหินหรือตามเสาสะพานท่าเทียบเรือ ซึ่งการที่มันว่ายน้ำช้าทำให้นักดำน้ำมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์บางคนพยายามจับปลาสิงโตด้วยมือเปล่า ซึ่งจะเขาได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากหนามพิษของปลาสิงโต พิษของปลาสิงโตเป็นสารประกอบโปรตีนเมื่อแทงเข้าไปในร่างการจะทำให้ผู้ถูกพิษมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก บางรายอาจมีอาการคอแห้ง ซึมเพ้อ ปวดเมื่อยตามข้อ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราว หรืออาจเสียชีวิตได้

3

ภาพที่3.ปลาสิงโต

วิธีแก้ไขเมื่อถูกพิษจากหนามของปลาสิงโต แช่แผลในน้ำร้อนที่พอทนได้ประมาณ 30-60 นาที อาการปวดจะทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งแพทย์

4

         ภาพที่4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกพิษจากปลาสิงโต

         ที่มาภาพ: http://www.wikihow.com/Treat-a-Stingray-Sting

          เนื่องจากปลาสิงโตเป็นปลาที่มีพิษซึ่งอาจทำอันตรายต่อนักดำน้ำหรือคนเลี้ยงปลาได้ ดังนั้นในบางประเทศเช่น ประเทศเยอรมันนีจึงออกกฎหมายป้องกันคนเลี้ยงปลาโดยกำหนดให้สถานที่ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีเซรุ่มแก้พิษปลาสิงโตเก็บไว้อย่างน้อย 2 หลอด

ปลาสิงโตโดยปกติแล้วพบแพร่กระจายในน่านน้ำเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกกินกุ้งและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ปัจจุบันพบว่าปลาสิงโตถูกพบในทะเลแคริเบียน มหาสมุทรแอตแลนติกแถบอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะปลาสิงโตปีกจุด Red lionfish (Pterois volitans) ซึ่งปลาตัวนี้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) เพราะปลาตัวนี้ไม่เคยพบในบริเวณนี้มาก่อนและปัจจุบันปลาตัวนี้ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (invasive species) ไปแล้วเพราะปลาสิงโตปีกจุดสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในแถบแคริเบียนและปลาสิงโตยังไปกินลูกปลาและปลาขนาดเล็กในบริเวณนั้นเป็นอาหาร ซึ่งในบริเวณนั้นไม่มีศัตรูผู้ล่าปลาสิงโตตามธรรมชาติเลย จึงเป็นสาเหตุให้สายพันธุ์ปลาพื้นถิ่นหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

มีการสันนิษฐานว่าปลาสิงโตมาแพร่พันธุ์ในทะเลแคริเบียนได้อย่างไรสาเหตุแรกคือมาจากคนเลี้ยงปลาตู้แล้วปล่อยปลาสิงโตลงในทะเลทำให้ปลาแพร่กระจายในธรรมชาติได้สาเหตุที่สองคือตัวอ่อนหรือไข่ปลาสิงโตที่ติดมากับน้ำจากถังอับเฉาใต้ท้องเรือแล้วถูกปล่อยในบริเวณนี้แล้วลูกปลาบางส่วนรอดชีวิตและแพร่กระจายพันธุ์ได้ สาเหตุสุดท้ายซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่น่าอัศจรรย์มากคือปลาสิงโตที่ถูกเลี้ยงอยู่ในตู้ปลาในบ้านของคนในแถบฟลอริด้าถูกพายุทอร์นาโดพัดทำให้บ้านพังแล้วปลาสิงโตถูกลมพายุพัดไปตกในทะเลแล้วรอดชีวิตกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

เอกสารอ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสิงโต

http://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสิงโตปีก

http://www.thainurseboard.com/index.php?topic=43.0

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=83

 

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว