ปลาสิงโต

Common name: Lionfish, Turkeyfish, Firefish, Butterfly-cod

อยู่ในวงศ์ ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae)

ลักษณะทั่วไป

ปลาสิงโตมีลำตัวยาวปานกลางแบนข้างเล็กน้อยมีหัวขนาดใหญ่ ลำตัวและหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มสลับกับสีน้ำตาลอ่อนและสีขาว ชื่อปลาสิงโตอาจจะมาจากครีบอกและครีบหลังที่แผ่ออกซึ่งแล้วคล้ายกับแผงคอของสิงโต แต่ครีบที่แผ่ออกมาแต่ละครีบนั้นประกอบด้วยก้านครีบที่เป็นหนามและมีต่อมพิษที่ก้านครีบแข็งทุกก้านและมีต่อมพิษจำนวนมากอยู่ใต้ผิวหนัง มักว่ายช้า ๆ หรือลอยตัวนิ่ง ๆ ตามแนวปะการัง และบริเวณแนวหินในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทั่วไป

ปลาสิงโต 1

รูปปลาสิงโตปีกจุด (Pterois volitans)

โดยทั่วไปมักพบปลาสิงโตว่ายน้ำช้าๆตามแนวปะการัง กองหินหรือตามเสาสะพานท่าเทียบเรือ ซึ่งการที่มันว่ายน้ำช้าทำให้นักดำน้ำมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์บางคนพยายามจับปลาสิงโตด้วยมือเปล่า ซึ่งจะเขาได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากหนามพิษของปลาสิงโต พิษของปลาสิงโตเป็นสารประกอบโปรตีนเมื่อแทงเข้าไปในร่างการจะทำให้ผู้ถูกพิษมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก บางรายอาจมีอาการคอแห้ง ซึมเพ้อ ปวดเมื่อยตามข้อ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราว หรืออาจเสียชีวิตได้

วิธีแก้ไขเมื่อถูกพิษจากหนามของปลาสิงโต แช่แผลในน้ำร้อนที่พอทนได้ประมาณ 30-60 นาที อาการปวดจะทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งแพทย์

วงจรชีวิต
วงจรชีวิต

ปลาสิงโตวางไข่ครั้งละประมาณ 15,000 – 30,000 ฟอง ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะพัฒนาเป็นลูกปลาขนาดประมาณ 2 เซนติเมตรโดยใช้เวลา 20 -40 วัน หลังจากนั้นจะเจริญเติบโตเป็นปลาสิงโตวัยรุ่นซึ่งมีขนาดประมาณ 2 – 10 เซนติเมตร ตอนอายุประมาณ 10 เดือน แล้วเจริญเติบโตเป็นปลาสิงโตตัวเต็มวัยตอนอายุประมาณ 1 ปี ปลาที่โตเต็มที่อาจมีขนาดยาวถึง 48 เซนติเมตร อายุไขของปลาสิงโตประมาณ 5- 10 ปี

การสืบพันธุ์

          ปลาสิงโตพร้อมสืบพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี โดยตัวเมียจะปล่อยไข่และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมในน้ำกลายเป็นลูกปลาวัยอ่อนต่อไป

อาหาร

          กินกุ้งหรือปลาขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร ด้วยการกางครีบแล้วไล่ต้อนให้จนมุม แล้วใช้ปากฮุบกินไปทั้งตัว ขากรรไกรขยายออกถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้แล้วครีบต่าง ๆ นั้นยังใช้สำหรับกางเพื่อขู่ศัตรูได้ด้วยนอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังถือเป็นปลาที่ฮุบกินอาหารได้เร็วมากจนตาเปล่าไม่อาจมองทัน ต้องใช้กล้องถ่ายภาพความเร็วสูงที่มีความเร็ว 2,000 เฟรม/วินาที จึงจะจับภาพทัน

แหล่งที่อยู่

          มักว่ายช้า ๆ หรือลอยตัวนิ่ง ๆ ตามแนวปะการัง และบริเวณแนวหินในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทั่วไป หรือพบว่ายอยู่ตามเสาที่สะพานหรือท่าเรือ

เอกสารอ้างอิง

http://lionfishnickgrantdrewadam.weebly.com/life-cycle.html

http://phuketaquarium.org/ปลาสิงโต/

https://rollingharbour.files.wordpress.com/2013/06/loxahatchee-river-district-lionfish-poster.jpg

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสิงโต/

บทความล่าสุด