ชื่อไทย: ปลาจิ้มฟันจระเข้

วงศ์: Syngnathidae

ชื่ออังกฤษ: Pipefishe

จิ้มฟันจระเข้สีเพลิง

ชีววิทยา

ชื่อของปลาในภาษาไทยสัมพันธ์กับลักษณะของลำตัวที่เรียวคล้ายไม้จิ้มฟันในขณะที่ส่วนหัวคล้ายกับส่วนหัวจระเข้ รูปลักษณ์พิเศษคือลำตัวได้รับการปกป้องหรือปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากเกล็ดซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากผู้ล่าได้ ส่วนหัวหน้าลูกตายื่นออกเป็นท่อยาวมีปากอยู่ตรงปลาย ไม่มีฟัน ช่องเปิดเหงือกพัฒนาลดรูปเหลือเพียงรูขนาดเล็กส่วนหัวและลำตัวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีการปรับตัวด้านสีสันให้เข้ากับแหล่งที่อยู่อาศัย

วงจรชีวิต

ถุงหน้าท้องของตัวผู้มีหน้าที่ในการฟักไข่ เมื่อลูกปลาฟักเป็นตัว มันจะสามารถหาอาหารได้เองทันที และจะต้องเริ่มดูแลชีวิตของตัวเองตั้งแต่เกิด เนื่องจากอาจจะเป็นอาหารของพ่อและแม่ปลาจิ้มฟันจระเข้ และผู้ล่าอื่นๆได้ ซึ่งอาจจะเหลือรอดในธรรมชาติไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแม่ปลาจึงต้องฝากไข่ไว้กับตัวผู้หลายๆตัว เพื่อที่ลูกของมันจะได้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ และมีโอกาสรอดสูง

การสืบพันธุ์

ปลาจิ้มฟันจระเข้ บางชนิดมีขนาดใหญ่ได้ถึง 55 ซม. การสืบพันธุ์เริ่มด้วยการว่ายน้ำเกี้ยวพาราสัน มีรูปแบบการสืบพันธุ์พิเศษ โดยตัวผู้จะมีช่องว่างหรือถุงตรงบริเวณหน้าท้อง ตัวเมียจะทำการย้ายไข่ของตัวเองเข้ามาเก็บไว้ที่ถุงหน้าท้องของตัวผู้ เมื่อขบวนการย้ายไข่เสร็จสิ้น ถุงหน้าท้องจะปิด ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อไปที่ไข่โดยตรงในถุงหน้าท้อง และไข่จะถูกเก็บไว้จนกว่าจะฟักออกเป็นตัว และพบว่าตัวเมียอาจจะฝากไข่ให้กับตัวผู้มากกว่า 1 ตัวได้

อาหาร

เนื่องจากปากมีลักษณะคล้ายท่อ อาหารจึงเป็นพวกแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก ลูกปลา และกุ้งเคยตัวเล็กจึงเป็นอาหารที่ชื่นชอบของปลาจิ้มฟันจระเข้

แหล่งที่อยู่

เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งที่อยู่ที่หลากหลาย ตั้งแต่พื้นทะเลที่เป็นโคลน แหล่งหญ้าทะเล หรือแนวปะการัง บางครั้งก็พบอยู่ตามวัสดุลอยน้ำ พบได้ที่ความลึกตั้งแต่ระดับแอ่งน้ำตื้นจนไปถึงที่ระดับ 100 เมตร

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว