การเอาตัวรอดของปลา

ปลาหลายชนิดขณะที่ยังเป็นลูกปลามีขนาดเล็กยังว่ายน้ำไม่เร็วพอที่จะหนีจากปลาผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่กว่าต้องหากลเม็ดในการเอาตัวรวดโดยวิธีการต่างๆ หนึ่งในนั้น ได้แก่ การปลอมตัวให้คล้ายกับสัตว์อื่น ปลาสร้อยนกเขาดอกดำ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า harlequin sweetlips ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectorhinchus chaetodonoides 

ปลาสร้อยนกเขาดอกดำ

ภาพปลาสร้อยนกเขาดอกดำ

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/02/Plectorhinchus_chaetodonoides.JPG/220px-Plectorhinchus_chaetodonoides.JPG

ปลาชนิดนี้พบแพร่กระจายตามแนวปะการังในมหาสมุทรอินเดียถึงฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค ขณะที่ปลาชนิดนี้เป็นลูกปลามีวิธีเอาตัวรอดจากผู้ล่าที่เป็นปลาขนาดใหญ่กว่า ในแนวปะการังเช่นปลาเก๋าปลากะพง โดยการปลอมตัวให้มีลวดลายและสีสันพร้อมทั้งลักษณะการว่ายน้ำให้คล้ายทากทะเล

ทากทะเล

ภาพทากทะเล

       ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/38/Red_Sea_Nudibranch.jpg/250px-Red_Sea_Nudibranch.jpg

ทากทะเลอยู่ในกลุ่มหอยฝาเดียว ส่วนใหญ่มีสีสันสวยงาม แต่สีสันที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินทากทะเลเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว ซึ่งพิษพวกนี้ได้มาจากอาหารที่ทากทะเลกินเข้าไป เช่นฟองน้ำ สาหร่าย ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุนและปะการังอ่อน โดยทั่วไปทากทะเลตอนว่ายน้ำจะโยกตัวพลิ้วขึ้นลง

https://www.youtube.com/watch?v=V6H01cUSpfQ

https://www.youtube.com/watch?v=cJE-LPcwtP8&list=PLldzyW6VWRqPbMsQOWPh1zMpVe9v-WA_I

ลูกปลาสร้อยนกเขาดอกดำ

       ภาพลูกปลาสร้อยนกเขาดอกดำ

        ซึ่งลูกปลาสร้อยนกเขาดอกดำก็จะปลอมตัวโดยมีจุดสีขาวบนลำตัวสีน้ำตาลและจะว่ายน้ำโดยการโยกตัวพลิ้วขึ้นลงคล้ายกับการว่ายน้ำของทากทะเลทำให้ปลาผู้ล่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทากทะเลจึงหลีกเลี่ยงที่จะกินทำให้ลูกปลาสร้อยนกเขาดอกดำมีโอกาสรอดมากขึ้น

 

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว