ภาพที่ 1

ที่มา: https://images.app.goo.gl/pQYPDxBLLkZNY5qUA

ชื่อวิทยาศาสตร์: Catlocarpio siamensis

ถิ่นอาศัย: เคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่มแม่น้าแม่กลอง แม่น้าเจ้าพระยาจนถึงบึงบอระเพ็ด ในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลาน้ำโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกชื่อปลานี้ว่า ปลากะมัน หรือหัวมัน

ลักษณะทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง ส่วนของลำตัวบริเวณถัดจากช่องเปิดเหงือกโค้งเป็นสันนูนขึ้นมา หัวโต ความยาวของหัวจะประมาณหนึ่งในสามของลำตัว ไม่มีหนวด ปากกว้าง ตาเล็ก ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ

การสืบพันธุ์: เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน แล้วผสมเทียมแบบแห้ง ปลากระโห้จะมีระยะเวลาที่เหมาะสม สำหรับการเพาะพันธุ์สั้นมาก

อาหารธรรมชาติ:กินแพลงก์ตอนและพรรณไม้น้ำ

ภาพที่ 2

ที่มา: https://images.app.goo.gl/qpkJPhgvX46dNinx9

แม้ปลาจะเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมไทยมาอย่างช้านานแต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา จากทุกทิศทาง ทำให้ระยะห่างความสัมพันธ์ระหว่างปลากับคนเริ่มแปรเปลี่ยนจนบางครั้งเราอาจไม่รู้ด้วยว่าแต่ละจังหวัดนั้นมี ปลาประจำจังหวัดเป็นของตัวเอง และแม้แต่กรุงเทพมหานครเองก็มี ด้วยเช่นกัน นั่นคือ ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp) ซึ่งเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Catlocarpio เป็น ปลาน้าจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีก ด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ซึ่ง จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง เพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ในลำน้ำดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู จนผสมเทียมได้สาเสร็จบริเวณเขื่อนชัยนาท แต่ก็ยังขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ จึงทรงมีพระบรมราชาอนุญาต ให้กรมประมงทดลองใช้ปลากระโห้ในสระพระตาหนักจิตรลดารโหฐานมาเพาะพันธุ์ และประสบความสาเสร็จในที่สุด

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B9%89

https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/124/12730

https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1294/390598/

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว