ปลานกขุนทองในประเทศไทย (Wrasses- วงศ์ Labidae)

          เป็นปลากลุ่มเด่นอีกกลุ่มหนึ่งในแนวปะการัง ลำตัวแบนข้าง มีรูปร่างและขนาดผันแปรอย่างมาก ตัวเต็มวัยมีขนาดผันแปรระหว่างชนิดจาก 10 ซม. ถึงกว่า 50 ซม. ยกเว้นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม คือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (Napoleon wrasse หรือ Humphead wrasse – Cheilinus undulatus) ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 2 เมตร มีเกล็ดแบบขอบเรียบที่ขนาดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ปากมีฟันแบบฟันเขี้ยวเรียงตัวห่างๆโดยมากฟันคู่ที่ 1-2 มีขนาดใหญ่และเฉียงออกมาทางด้านหน้า ในส่วนฐานของช่องคอหอยมีฟัน (pharyngeal teeth) ซึ่งมีลักษณะเป็นฟันปลายแหลมสั้นๆหรือแบบฟันบด ส่วนใหญ่ว่ายน้ำเป็นอิสระไม่รวมฝูง ยกเว้นช่วงที่มีการรวมกลุ่มเพื่อการผสมพันธุ์ หาอาหารเวลากลางวัน กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กตามพื้นเป็นอาหาร ยกเว้นปลาบางชนิดที่กินปลาขนาดเล็ก หรือกินแพลงก์ตอนในน้ำเป็นอาหาร เป็นกลุ่มปลาที่มีสีสันสวยงามและมีรูปแบบของสีที่แตกต่างกันระหว่างเพศ โดยปลาเพศผู้มักมีสีสันที่ฉูดฉาดและสวยงามกว่าปลาเพศเมีย และสามารถเปลี่ยนเพศได้จากปลาตัวเมียเป็นปลาตัวผู้ พบได้ตามแนวปะการังในน้ำน่านไทยประมาณ 75 ชนิด (รวมทั้งวงศ์มี 68 สกุล ประมาณอย่างน้อย 452 ชนิด)

          จากการศึกษาความหลากหลายของปลานกขุนทองในแนวปะการัง พบว่า ปลานกขุนทองเป็นปลาที่อยู่ใน Family Labridae จัดเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 และเป็นกลุ่มปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังที่มีมากถึง 500 ชนิด

          จากการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานและเผยแพร่ กระจายของปลานกขุนทองในแนวปะการังของไทยนั้น พบในฝั่งอันดามัน 65 ชนิด พบในฝั่งอ่าวไทย 27 ชนิด โดยที่หมู่เกาะสุรินทร์เป็นจุดที่พบจำนวนชนิดของปลาในครอบครัวนี้ได้มากที่สุด ในจำนวนนี้ มีชนิดที่ยังไม่เคยมีรายงานการพบในประเทศไทยมาก่อน 9 ชนิด

          นอกจากนี้ยังพบชนิดที่มีเฉพาะแห่ง 8 ชนิด โดยเฉพาะที่อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต พบชนิดที่ถูกจับไปขาย 34 ชนิด ซึ่งเขตอันดามันเหนือมีความหลากหลายมากที่สุด รองลงมาคือเขตอันดามันใต้ อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันออก และอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตก ตามลำดับ

ตัวอย่างชนิดของปลานกขุนทองในประเทศไทย

1. ปลานกขุนทองปากหนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hemigymnus melapterus

ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Thicklip Wrasse

2. ปลานกขุนทองเขียวพระอินทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thalassoma lunare

ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Moon Wrasse

3. ปลาพยาบาล



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Labroides dimidiatus

ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Cleaner Wrass



4. ปลานกขุนทองหกบั้ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thalassoma hardwicke

ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Sixbar Wrasse



5. ปลานกขุนทองข้างแถบ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Halichoeres scapularis

ชื่อสามัญ : Zigzag wrasse



6. ปลานกขุนทองทราย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coris batuensis        

ชื่อสามัญ : Batu coris



แหล่งที่มา:

http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=669303

http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1455

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว