ปลาบึก (Mekong giant catfish)

ภาพที่ 1 ปลาบึก

ที่มา: https://images.app.goo.gl/QEBCixh76c3JYg3f8

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasianodon gigas

ลักษณะทั่วไป

ปลาน้าจืดขนาดใหญ่ ไร้เกล็ด ไม่มีฟันและเกือบไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป ตาอยู่ต่ำกว่ามุมปาก เมื่อมองจากด้านหน้าตรงๆจะไม่เห็น แสดงถึงการหากินตามพื้นน้า ปลาบึกสามารถเติบโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี

ถิ่นอาศัย

อยู่ในแม่น้าโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ารวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้างึม, แม่น้ามูล, แม่น้าสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้าโขง ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้

ภาพที่2 ปลาบึก

ที่มา: https://images.app.goo.gl/VhCXRcaEErGyqZyv5

อุปนิสัย

อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร่น้าแต่เมื่อนามาเลี้ยงก็สามารถกิน อาหารชนิดอื่นได้ ปลาบึกเป็นปลาอพยพโดยจะว่ายจากแม่น้าโขงในเขตจีนไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ ทะเลสาบเขมรโดยในฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือเป็นประเพณีจับ ปลาบึกโดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

สถานภาพ

เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้าที่แย่ลงจากการ พัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้าปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก

ปลาบึกเป็นปลาที่คนนิยมกันมาก นอกจากเนื้อแล้วตับและไข่ปลาหมักก็เป็นอาหารรสชาติดีเนื้อปลาบึกมี ราคาแพงเนื่องจากไม่มีการเพาะเลี้ยง จึงไม่สามารถกำหนดขนาดได้ และได้จากการจับในฤดูกาลเท่านั้นเนื้อปลาบึกจะมีลักษณะคล้ายกับหมูสามชั้นมีชั้นของหนัง,ไขมัน และเนื้อและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วย

อ้างอิง http://www.komkid.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8 %B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2/%E0 %B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%81-mekong-giant-catfish/

บทความล่าสุด