ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล กำหนดขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552 แนวความคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จากแนวความคิดของประเทศแคนาดา ในการประชุมความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี

นายพัน กี-มุน (Mr.Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8

ได้ออกแถลงการณ์ในวันทะเลโลก เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นความสำคัญของ วันดังกล่าว โดยเรียกร้องให้รัฐบาลและประชาชนของทุกชาติช่วยกัน ปกป้องรักษาทะเล พร้อมทั้งเตือนว่าในอนาคตทั่วโลก จะต้องเผชิญผลกระทบจากทะเลอย่างหนัก ซึ่งทาง UN เรียกร้องทั่วโลกให้อนุรักษ์ทะเล และหากมีการใช้ทรัพยากรทางทะเลจนหมด จะทำให้เกิดผลกระทบจากสภาวะอากาศแปรปรวน ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางทะเล การตกงานของชาวประมง ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ  หลังพบว่าขยะในทะเล   ส่งผลกระทบมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และสร้างความเสียหายให้กับเรือและเครื่องมือประมงตลอดจน ส่งผลต่อจำนวนสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับบาดเจ็บ

จากการกินขยะพลาสติกทำให้ติดบริเวณทางเดินอาหาร ส่งผลให้สัตว์ทะเลต้องตายเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการรณรงค์ และกระตุ้นคนไทยให้หันมาอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เนื่องในวันทะเลโลก เพราะจากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปัญหาในท้องทะเลส่วนใหญ่มาจากขยะพลาสติกตามทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์

ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาขยะในท้องทะเลอย่างจริงจัง และหยุดพฤติกรรมดังกล่าว การปลุกจิตสำนึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ประสบความสำเร็จเพราะประชาชนส่วนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการใส่อาหาร จึงต้องการให้ทุกคนถือเอาวันทะเลโลก เป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์ หวงแหนท้องทะเลไทย และการแก้ไขปัญหาขยะในท้องทะเลที่ผ่านมา

 การศึกษาการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทางกายภาพ และทรัพยากรทางทะเลทางชีวภาพตลอดจนระบบนิเวศ โดยเป็นการป้องกันและรักษาระบบนิเวศในมหาสมุทรและทะเล ผ่านการจัดการตามแผนเพื่อป้องกันการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ การอนุรักษ์ทางทะเลเป็นผลมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมของเรา เช่น การสูญพันธุ์ การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

  รวมถึงมุ่งเน้นไปที่การจำกัดความเสียหายของมนุษย์ต่อระบบนิเวศทางทะเล การฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลที่เสียหาย และรักษาสายพันธุ์ที่อ่อนแอ ตลอดจนระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตทางทะเล การอนุรักษ์ทางทะเลเป็นระเบียบวินัยที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อประเด็นทางชีววิทยา เช่น การสูญพันธุ์ และที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เปลี่ยนไป

ฃ้อปฏิบัติการรักษ์ทะเล

  1. ระวังเรื่องการใช้พลังงานของตัวเอง ลดการใช้พลังงานทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เพื่อผลิต carbon น้อยลง ผลจากสภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ที่ส่งกระทำต่อทะเลก็จะน้อยลงไปด้วย เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟในบ้านเป็นหลอดประหยัดไฟ, ใช้บันไดแทนลิฟต์

  2. เลือกกินอาหารทะเลที่เป็นสัตว์ที่มาจากระบบที่ยั่งยืน หัวข้อฟังยาก แต่ที่จริงก็คือเลือกกินอาหารทะเลที่ไม่ได้จับด้วยวิธีที่อันตรายต่อสัตว์อื่น หรือสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ก็ไม่กินสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ด้วยนะ

  3. ใช้พลาสติกให้น้อยลง ฟังดูเหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่ที่จริงแล้วเกี่ยวเต็มๆ เพราะปริมาณขยะพลาสติกส่วนนึงจะไปจบลงในท้องทะเล ถึงแม้จะบอกว่าเราทิ้งลงถังขยะที่ถูกต้อง แต่เราก็ไม่เห็นมันวิ่งไปจนถึงโรงงานทำลายด้วยตัวเอง พลาสติกที่เราทิ้งอาจจะพลาดไปตกอยู่ในทะเลโดยเราไม่รู้ตัว เริ่มง่ายๆ ด้วยการใช้ถุงผ้า (ที่เค้าฮิตๆ กัน) อย่างจริงจัง, พกแก้วน้ำส่วนตัวเวลาไปซื้อน้ำจากรถเข็น, เก็บอาหารด้วยกล่องที่ใช้ซ้ำได้อย่าง ทัพเปอร์แวร์ แทนถุงร้อน, และแยกขยะส่งรีไซเคิลถ้าสามารถทำได้

  4. ช่วยกันดูแลชายหาด เริ่มจากตัวเองก่อน เวลาไปเที่ยวทะเล ไม่ว่าเที่ยวหาด หรือเที่ยวด้วยเรือ ช่วยกันดูแลขยะของตัวเอง เก็บกวาดให้เรียบร้อย ถ้ามีเวลา และกำลังพอ ก็ไปเข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะทั้งบกบก และใต้น้ำ ตามสะดวก

  5. อย่าซื้อสินค้าที่ทำลายชีวิตจากทะเล ไม่ใช่แค่เปลือกหอย ปะการัง กระดองเต่า แต่รวมไปถึงสัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำลายแนวปะการัง หรือวางอวนลากมาอีกด้วย

  6. เลี้ยงสัตว์แบบรักษ์ทะเล อ่านฉลากอาหารสัตว์เลี้ยงบ้าง บางชนิดอาจจะทำจากเศษซากของสัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์ เช่นปลาทูน่าชนิดที่หายาก ถ้าเลี้ยงแมว อย่าทิ้งอึ๊แมวลงชักโครก เพราะอาจมีเชื้อโรคซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ อย่าเลี้ยงปลาตู้ด้วยปลาชนิดที่จับจากทะเล และอย่าปล่อยปลาตู้กลับลงทะเลซี้ซั้ว เพราะอาจจะเป็นปลาที่ไม่เคยมีอยู่ในทะเลแถวนั้น ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศของพื้นที่ได้

  7. สนับสนุนองค์กรที่ช่วยเหลือด้านทะเล เลือกเอาที่ชอบ ออกแรงไม่ได้ ออกตังค์ให้เป็นประโยชน์ก็ยังดีนะ

  8. สร้างพลังขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงให้คนใกล้ตัว ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี อธิบายเพื่อนๆ รอบข้างถึงเรื่องง่ายๆ ที่ช่วยกันทำได้ เวลาไปกินข้าวก็เลือกร้านที่ไม่ใช้วัตถุดิบที่ทำร้ายสัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์ แต่ระวังอย่าทำสุดโต่งเกินไป เดี๋ยวเพื่อนๆ จะเลิกคบ

  9. เดินทางแบบรักษ์ทะเล เวลาเดินทางด้วยเรือ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทะเล ก็ระวังและปฏิบัติตามข้อควรระวัง เช่นไม่เข้าใกล้ หรือทับแนวปะการัง ไม่ทิ้งขยะลงในน้ำ

  10. เติมความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทะเล และสัตว์น้ำทุกชีวิตเชื่อมต่อกับทะเลมหาสมุทรทางใดทางนึง ยิ่งรู้มากขึ้น ก็จะเข้าใจมากขึ้น และไม่เผลอทำร้ายทะเลโดยไม่ได้ตั้งใจ

เอกสารอ้างอิง

https://projects.dmcr.go.th/miniprojects/172/home

 

บทความล่าสุด