ชื่อไทย: ปลาวาฬหัวทุย ปลาวาฬสเปิร์ม
common name: Sperm whale
ชื่อวิทยาศาสตร์: Physeter macrocephalus

นักวิทยาศาสตร์จะเรียกสัตว์ตัวนี้ว่า วาฬหัวทุย หรือวาฬสเปิร์มเพราะสัตว์ตัวนี้ไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลและมีรูปร่างคล้ายปลาที่มีขนาดใหญ่วาฬหัวทุยมีหัวขนาดใหญ่มากประมาณ 40% ของตัว ภายในหัวบรรจุด้วยไขมันเหลวสีขาวขุ่นคล้าสเปิร์จึงเป็นที่มาของชื่อวาฬสเปิร์ม ไขมันดังกล่าวใช้ช่วยในการดำน้ำเมื่อวาฬตัวนี้ว่ายลงไปที่ลึซึ่งอุณหภูมิน้ำทะเลที่ลดลงทำให้ไขมันแข็งตัวช่วยถ่วงหัวให้ดำน้ำได้เร็วขึ้น มันสามารถดน้ำได้ลึกถึงประมาณ 3,000 เมตรได้นานถึงประมาณ 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจครั้งเดียวโดมันสามารถใช้อากาศในปอดได้เกือบทั้งหมด

วาฬหัวทุยมีฟันเฉพาะที่ขากรรไกรล่างประมาณ 25- 30 คู่ ส่วนขากรรไกรบนเป็นร่องรับกันฟันล่าง มันจะกินอาหารโดยการงับและกลืนโดยไม่เคี้ยวคล้ายจระเข้ อาหารของมันได้แกหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) และหมึกหมึกมหึมา (Mesonychoteuthishamiltoni) ซึ่งทั้งสองชนิดมีขนาดใหญ่กว่า 10 เมตร เชื่อว่าวาฬหัวทุยสามารถส่งเสียงทำหน้าที่คล้ายกับโซนาร์เพื่อหาตำแหน่งของเหยื่อและทำให้ เหยื่อหมดสติหรือฆ่าเหยื่อได้

ภาพวาฬหัวทุยที่เกยตื้น
ที่มาภาพ: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f3/Dirk_Claesen_-_Sperm_Whale.jpg


ภาพวาฬหัวทุยขณะจับเหยื่อ (หมึกกล้วยยักษ์)
ที่มาภาพ: https://www.q-files.com/images/pages/galleries/317/sperm-whale-3.jpg?569

วาฬสเปิร์มถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อนำฟันมาทำเป็นเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพันมีราคาแพงมาก ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทย วาฬตัวนี้โตเต็มที่มีขาดประมาร 20 เมตร หนักประมาณ 45 ตัน โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย อายุยืนถึง 70 ปี พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/วาฬสเปิร์ม
http://www.whalewatch.co.nz/thai/about-whales/
http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/sperm-whale/#.WR5lyzekKUk
http://www.fisheries.noaa.gov/pr/species/mammals/whales/sperm-whale.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Sperm_whale

บทความล่าสุด

7 ธันวาคม 2023

กั้งตั๊กแตน

22 พฤศจิกายน 2023

ปลากระทิงไฟ